ตัวอย่างผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนา

การพัฒนาโครงการหนึ่งๆย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในทางบวกแลทางลบ ผลกระทบในทางบวกเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทางลบจะก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องตามมาได้มากมาย อันทำให้เกิดความยุ่งยากในการแก้ไขและสิ้นแปลืองงบประมาณเป็นอย่างมาก ซึ่งจำเป็นต้องป้องกันไว้ตั้งแต่ขั้นต้น ตัวอย่างผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการต่าง ๆ ได้แก่

1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ต้องทำรายงาน ได้แก่ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป หรือโครงการชลประทานที่มีพื้นที่การชลประทานตั้งแต่ 80,000ไร่ขึ้นไป ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำคัญจากโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บกักน้ำด้ง กล่าว เช่น ผลกระทบต่อสังคมและชุมชน เนื่องจากอาจต้องมีการอพยพโยกย้ายราษฎรออกนอกพื้นที่ประชาชนจึงควรได้รับผลกระทบด้านการดำรงชีวิตตลอดจนประกอบอาชีพ เป็นต้น

2. โครงการทางหลวง.

โครงการทางหลวงทุกขนาดที่ตัดผ่านพื้นที่เขตพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขตลุ่มน้ำชั้น 2 พื้นที่เขตป่าชายเลนที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เขตฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตร ห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดเป็นโครงการต้องจัดทำรายงาน EIA ทั้งนี้ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น ทางหลวงทำให้เกิดการแบ่งแยก (Fragmentation) ของระบบนิเวศ โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งจะทำให้สัตว์ไม่สามารถดำรงชีวิตหรือออกหากินได้ตามปกติ บางโครงการอาจทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในขั้นก่อสร้าง นอกจากนี้ ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของโครงการทางหลวง คือ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะในบริเวณสองข้างทาง ในกรณีทางหลวงอยู่ใกล้ฝั่งทะเลอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและ ระบบนิเวศชายฝั่งได้อย่างมาก

3. โครงการสนามบิน

โครงการสนามบินพาณิชย์ทุกขนาดเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของโครงการสนามบิน ได้แก่ ผลกระทบด้านเสียงจากการขึ้น-ลงของเครื่องบิน ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยรอบสนามบิน หรือในกรณีที่จะมีการสร้างสนามบินในพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณสถานหรือโบราณ วัตถุก็อาจส่งผลกระทบต่อโบราสถานหรือโบราณวัตถุได้

4. โครงการท่าเรือพาณิชย์

โครงการท่าเทียบเรือพาณิชย์ที่สามารถรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปต้องจัดทำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญจากโครงการท่าเรือ ได้แก่ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอันเนื่องจากการก่อสร้างท่าเรือที่ยื่นออกไปในทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในบางพื้นที่และเกิดการงอกตัวใน พื้นที่อื่นในบริเวณที่ถูกกัดเซาะจะได้รับความเสียหายผลกระทบต่อคุณภาพน้ำซึ่งเกิดจากทิ้งน้ำโสโครกจากเรือ ปัญหาผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เช่น การขนถ่ายสินค้าที่มีการฟุ้งกระจายได้ง่าย เช่น การขนถ่ายแป้งมัน เป็นต้น นอกจากนี้ กรณืท่าเทียบเรือขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่บริเวณโครงการ ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งที่พักอาศัยของคนงานและจะส่งผลกระทบต่อการใช้ที่ดินโดย รอบโครงการอีกด้วย

5. โครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย

โครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EIA ได้แก่ โครงการโรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป โครงการอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป โครงการอาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบหรือชายหาดหรือที่อยู่ใกล้หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวลด้อม โดยเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 236 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงการจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการพาณิชย์ที่มีจำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไปหรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่ โครงการโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไปหรือ 60 เตียงขึ้นไปแล้วแต่พื้นที่ กลุ่มโครงการประเภทนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น ผลกระทบน้ำเสีย ผลกระทบด้านการจราจร ผลกระทบต่อการใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงโดยเฉพาะกรณีโครงการจัดสรรที่ดิน ผลกระทบด้านทัศนียภาพในกรณีที่เป็นการก่อสร้างโรงแรมหรืออาคารที่มีความสูง ซึ่งอาจเกิดความขัดแย้งกับสถานที่โดยรอบได้